รูปภาพ / กิจกรรม


วีดีโอเกี่ยวกับ ร.พ.

↑ TOP โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ | โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ :: Suansaranrom Hospital
ตรวจเช็คสุขภาพใจ
  • สำหรับประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • นโยบาย-มาตรการ
    ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

    นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
    ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

    VDO-Thailand Energy Awards 2023

    แบบคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยจิตเวช


    A PHP Error was encountered

    Severity: Notice

    Message: Trying to get property of non-object

    Filename: news/view.php

    Line Number: 64

    A PHP Error was encountered

    Severity: Notice

    Message: Trying to get property of non-object

    Filename: news/view.php

    Line Number: 64


    อ่าน : 35102 20 ธ.ค. 2566 14:51:29

    โดย : Admin SSR
    :: เรื่อง รับมืออย่างไร เมื่อผู้ป่วยติดสารเสพติดมีอาการลงแดง


    #ถาม

    รับมืออย่างไร เมื่อผู้ป่วยติดสารเสพติดมีอาการลงแดง

    #ตอบ

    การเลิกสารเสพติดเป็นสิ่งที่ดี แต่การหักดิบหรือการหยุดสารเสพติดกะทันหันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เมื่อร่างกายได้รับสารเสพติดบางอย่างเป็นเวลานาน การหยุดใช้สารอย่างกะทันหัน ส่วนใหญ่มักเกิดอาการของ “การถอนยา” หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “อาการลงแดง” ประเภทและระยะเวลาของการใช้สารเสพติดก็ส่งผลต่อ “อาการลงแดง” แตกต่างกัน (ขึ้นกับปริมาณ ประเภท ความถี่ และระยะเวลาที่ใช้สารเสพติด) แต่ส่วนใหญ่มักเกิดอาการเหล่านี้

    • ด้านร่างกาย :ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว ปวดท้อง มวนท้อง กระสับกระส่าย รู้สึกไม่สบายตัว อยู่ไม่เป็นสุข

    • ด้านจิตใจ : หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายใจ เปรี้ยวปากมีความอยากใช้สารเสพติด และอาการทางจิต

    วิธีการรับมือกับผู้ป่วยที่มี “อาการลงแดง” ไม่รุนแรง

    1. #ยอมรับและเข้าใจ อันดับแรก ต้องยอมรับก่อนว่าผู้ป่วย คือ ผู้ที่ติดสารเสพติด และเข้าใจว่า “อาการลงแดง” ที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในผู้ที่หยุดสารเสพติด

    2. #อยู่เป็นเพื่อน ผู้ป่วยอาจมีความวิตกกังวลหรือความเครียดกับ “อาการลงแดง” ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงอาจนึกถึงการใช้สารเสพติด ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่ต้องมีคนอยู่ข้างๆ เพื่อเตือนสติ และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เผชิญความทุกข์ทรมานคนเดียว

    3. #หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น การจัดห้อง จัดบ้าน พบปะผู้คน หรือพาผู้ป่วยไปสถานที่ใหม่ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่นึกถึงการใช้สารเสพติด

    4. #หากิจกรรมทำ ชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สนุกสนาน หรือกิจกรรมที่ชอบ จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วยออกจากการนึกถึงสารเสพติด และยังเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล

    5. #คำพูดและกำลังใจดีๆ “เป็นกำลังใจให้นะ” “เรารับรู้ถึงความพยายามของคุณ” “ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี” “เราอยู่ข้างๆ นะ” คำพูดเหล่านี้ ล้วนเป็นการให้กำลังใจดีๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

    หากผู้ป่วยมีอาการทางจิต ภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายที่รุนแรง ญาติไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสารเสพติดได้อย่างปลอดภัย... ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

    อัลบั้มภาพ



    เรื่องน่าสนใจ


    ประเมินสุขภาพจิตและให้ความรู้ด้านสุขภาพจ...

    การปฎิบัติงานดูแลสุขภาพจิตประชาชนในภารกิ...

    หลักสูตร “การให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรั...

    รับสมัครอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางระย...

    ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ 2566

    ล่าสุด


    ประชุมหารือการพัฒนาระบบการแพทย...

    ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบ...

    ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจครอบครัวผ...

    พิธีปล่อยคาราวานรถเพื่อนใจสู้ภัยน้ำท่วม

    ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบ...

    สังเกตุสัญญาณเตือน อาการซึมเศร้า