ตรวจเช็คสุขภาพใจ
  • สำหรับประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • นโยบาย-มาตรการ
    ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

    นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
    ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

    VDO-Thailand Energy Awards 2023

    แบบคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยจิตเวช



    อ่าน : 15272 15 มิ.ย. 2565 15:16:35

    โดย : Admin SSR
    :: เรื่อง ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ


              เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ มักพบในผู้สูงวัยมีผลต่อความจำ การตัดสินใจ การใช้เหตุผล รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในด้านของอารมณ์และพฤติกรรม ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการดำรงชีวิต

    ทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองเสื่อม

    • อาการหลงลืมเรื่องราวที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ไม่นานในขณะที่ความจำเรื่องในอดีตจะยังดีอยู่
    • ผู้ป่วยอาจถามหรือพูดซ้ำเรื่องที่เพิ่งบอกไป หรือวางของแล้วลืม ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้
    • สับสนเรื่องราว วันเวลา สถานที่ หลงทิศทาง นึกคำพูดไม่ค่อยออกหรือใช้คำผิดๆ
    • มีอารมณ์ พฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    • การตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งอาการเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงช้าๆ จนเกิดปัญหาต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวัน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถเดิม การศึกษา และหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกต เอาใจใส่ของญาติด้วย

    อาการทางจิตและพฤติกรรมผิดปกติที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม

    1. ความคิดหลงผิด                                          

    2. ประสาทหลอน

    3. กระสับกระส่าย / ก้าวร้าว                               

    4. ความไม่ยับยั้งชั่งใจ

    5. อารมณ์ร่าเริงเกินเหตุ / ครึ้มใจ                          

    6. หงุดหงิด / อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

    7. ซึมเศร้า / ละเหี่ยใจ                                      

    8. ความวิตกกังวล

    9. ความเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว / ไร้อารมณ์            

    10. ความอยากอาหารและการกินที่ผิดปกติ

    11. การนอนหลับปัญหาพฤติกรรมช่วงกลางคืน           

    12. พฤติกรรมแปลก

    เคล็ด (ไม่ลับ) ในการป้องกันภาวะสมองเสื่อม

    1. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
    2. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ คิดเลข การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ/เข้าชมรมผู้สูงอายุ
    3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี ถ้ามีโรคประจำตัวก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ
    5. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง
    6. กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ อาหารที่มีผักผลไม้ รวมทั้งกลุ่มวิตามินบี

    ที่มา : คลินิกใบบุญ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

    อัลบั้มภาพ



    เรื่องน่าสนใจ


    ประเมินสุขภาพจิตและให้ความรู้ด้านสุขภาพจ...

    หลักสูตร “การให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรั...

    การปฎิบัติงานดูแลสุขภาพจิตประชาชนในภารกิ...

    การบรรยายและฝึกปฏิบัติหลักการแนวทางและกล...

    ประชุมคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตจังหวัดนครศร...

    โครงการ SCIT Happy Workplace in Valentine's Week

    ล่าสุด


    ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม เ...

    ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม เ...

    วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่ง...

    ประชุมเชิงปฏิบัติการรายกรณี เพ...

    พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเก...

    โครงการศึกษาดูงานด้าน Smart Ho...

    วีดีโอเกี่ยวกับ ร.พ.

    ↑ TOP