สื่อ VR การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แก่ประชาชน-ผู้ป่วยรับบริการ บนโลกเสมือนจริง Metaverse
ประชาสัมพันธ์แนะนำ สื่อ VR โปรแกรมการจัดการอาการผู้ป่วยหูแว่ว ประสาทหลอนในผู้ป่วยจิตเภท ผ่านโลกเสมือนจริง VR (Virtual reality) Metaverse Program
ความเป็นมา...โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง มีลักษณะเฉพาะเป็นแบบจำเพาะและอารมณ์เป็นแบบไม่เหมาะสม หรือ Blunted สติสัมปชัญญะและเชาวน์ปัญญามักดีอยู่ ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม
ดังนั้น กลุ่มงานคลินิกเชี่ยวชาญและกลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ จึงได้ศึกษานวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า VR หรือ Virtual Reality เป็นเทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือน โดยผ่านการรับรู้ของผู้ใช้งานอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น เสียง การสัมผัส นำมาพัฒนาร่วมกับโปรแกรม Metaverse spatial และสื่อมัลติมีเดียชุดการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) ที่มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ในเหตุการณ์ สถานการณ์จำลอง ประกอบด้วย ภาพ เสียง วิดีโออนิเมชั่น 360 องศา และนำมาประกอบสื่อให้อยู่ในรูปแบบห้องบำบัดผู้ป่วยจิตเภทเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี Metaverse โดยเป็นการจำลองให้ผู้ป่วยเข้าไปในโลกจำลองเสมือนจริง ในเหตุการณ์ สถานการณ์จำลอง นั้น เพื่อเป็นการให้ความรู้อาการของโรคและใช้บำบัดรักษาตามแผนโปรแกรม และเพิ่มความสามารถในการแสดงผล โดยสามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ แว่นตา VR , สมาร์ทโฟน, แท็บแล็ต และคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญสำหรับการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์และเป็นการพัฒนาระบบบริการจิตเวชดิจิทัลที่ทันสมัย
คู่มือแนะนำการให้บริการของโปรแกรม :: https://shorturl.asia/cB4Yo
เข้าใช้งานได้ที่ :ผ่านโปรแกรม spatial.ioบนเว็บไซต์ หรือ application บนมือถือ และสามารถกดเข้าสู่โปรแกรมได้ที่ลิงค์นี้: https://www.spatial.io/s/h-ngt-nrab-aenanamkaarbambadkaarcchadkaar-aakaarphuupwyhuuaeww-prasaathhl-nainphuupwycchitephth-rph-62af20e06e2cb0000147b3ce?share=5525000824886181984