ตรวจเช็คสุขภาพใจ
  • สำหรับประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • นโยบาย-มาตรการ
    ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

    นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
    ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

    VDO-Thailand Energy Awards 2023

    แบบคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยจิตเวช


    หัวข้อ: คำถามที่พบบ่อย (Q&A)


    รายละเอียด:

    คำถามที่พบบ่อยจากผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก
    1. ต้องการพาลูกมาบำบัดยาบ้าที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ได้ไหม
        : การเตรียมพร้อมก่อนมารพ.
         - งานผู้ป่วยนอกเปิดบริการตรวจรักษาวันราชการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์  เวลาเริ่มทำบัตรผู้ป่วยใหม่ลำดับที่1 เริ่ม 07.30 น. และปิดรับบัตรคิวเวลา 14.00 น. 
         - ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการมาตรวจรักษา พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง
         - ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ และมีอาการ พฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว หวาดระแวง มีประสาทหลอน ให้ขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้าน อสม. กำนัน หรือ แจ้งตำรวจหรือมูลนิธิในการนำส่งผู้ป่วยตามระบบส่งรักษาต่อกับรพ.ต้นสังกัดบัตรประกันสุขภาพหรือรพ.ฝ่ายกายก่อนส่งต่อมารักษาที่รพ.สวนสราญรมย์ เพื่อคัดกรองโรคทางกายที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยก่อน
         - ญาติที่ใกล้ชิดนำส่งพร้อมกับผู้ป่วย และยาหรือผลการตรวจรักษาที่ผู้ป่วยมีอยู่มาด้วยถ้ามี
    2. แม่แก่แล้วมีอาการไม่นอน หลงลืม ด่า พูดคนเดียวที่รพ.รักษาได้ไหม
        : รพ.รับตรวจรักษา 
         - งานผู้ป่วยนอกเปิดบริการตรวจรักษาวันราชการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์  เวลาเริ่มทำบัตรผู้ป่วยใหม่ลำดับที่1 เริ่ม 07.30 น. และปิดรับบัตรคิวเวลา 14.00น. 
         - ญาติที่ใกล้ชิดนำส่งพร้อมกับผู้ป่วย และยาหรือผลการตรวจรักษาที่ผู้ป่วยมีอยู่มาด้วยถ้ามี
         - กรณีผู้ป่วยมีโรคประจำทางกาย ในระยะอาการของโรคกำเริบ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองตีบ แตก ขอให้นำผู้ป่วยไปรักษารพ.ฝ่ายกายก่อนนำมารพ.สวนสราญรมย์
         - เตรียมเรื่องเอกสารสิทธิค่ารักษาให้พร้อมถ้าต้องการใช้สิทธิค่ารักษา เช่น สิทธิบัตรทอง และบัตรประกันสังคม ต้องมีใบส่งตัวของรพ.ต้นสังกัดของบัตรเป็นต้น
         - เตรียมอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย และแพมเพอร์ใส่มาด้วยถ้าจำเป็น
    3. มารักษาที่รพ.สวนสราญรมย์ไม่มีส่งตัวได้ไหม ใช้บัตรจ่ายตรง
        : ได้กรณีสิทธิจ่ายตรง ให้เตรียมบัตรประชาชนตัวจริงมา กรณีใบส่งจะใช้กรณีที่แพทย์เดิมที่ผู้ป่วยไปตรวจรักษาจะส่งต่ออาการให้แพทย์ที่รพ.สวนสราญรมย์ทราบประวัติการรักษา
    4. มารพ.ไม่สะดวกรพ.ช่วยส่งยาให้ถึงบ้านได้ไหม
        : รพ.มีการจัดบริการส่งยาทางไปรษณีย์ แต่ภายใต้เงื่อนไข คือ 
         - ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ป่วยที่รักษาโดยแพทย์ของรพ.สวนสราญรมย์ รักษาต่อเนื่อง หรือขาดการรักษาจากรพ.ไม่เกิน 1สัปดาห์
         - มีอาการทางเจ็บป่วยจิตเวชสงบ และผู้ป่วยต้องได้รับการสัมภาษณ์จากพยาบาลก่อนเพื่อการตัดสินใจจัดส่งยา 
         - ส่วนเรื่องสิทธิค่ารักษาถ้ามีค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่การเงินรพ.จะโทรติดต่อภายหลังอีกครั้งก่อนดำเนินการส่งยาให้ผู้ป่วย 
         - ที่อยู่ที่ชัดเจนที่จะให้ส่งยา และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่ออย่างชัดเจน
    5. ญาติมารับยาแทนผู้ป่วยได้ไหม
        : ญาติเป็นคนครอบครัวที่1 ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร สามารถมารับยาแทนผู้ป่วยได้โดย
         - ญาติต้องนำบัตรประชาชนของตนเองมาแสดงตนที่จุดบริการ และเป็นผู้ที่รับรู้อาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
         - ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องกับรพ.สวนสราญรมย์ ไม่ขาดการรักษาจากรพ.สวนสราญรมย์นานเกิน 6 เดือน และแพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้พิจารณาการรักษา
    6. ค่ายาแพงไหม
        : ค่ายาไม่สามารถบอกได้แบบตายตัว ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์ในแต่ละครั้ง อย่างน้อยให้ผู้รับบริการเตรียมค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 700บาท กรณีที่ไม่ใช้สิทธิค่ารักษาใดๆ
    7. มาขอใบรับรองแพทย์เอาไปเกณฑ์ทหารที่รพ.ต้องทำอย่างไร
        : การขอใบรับรองแพทย์ประกอบการเกณฑ์ทหาร
         - กรณีบุคคลทั่วไป ปกติ  ขอแนะนำให้เข้ารับการตรวจกับรพ.ค่ายทหาร เช่น รพ.ค่ายวิภาวดี รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม 
         - กรณีบุคคลที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด รพ.สวนสราญรมย์ขอให้การเตรียมตัวก่อนมาได้แก่ หนังสือราชการที่แจ้งให้ท่านเกณฑ์ทหาร บัตรประชาชน ค่าบริการ ทางรพ.จะมีการบริการท่านทั้งหมด 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกมารพ.เพื่อทำประวัติ นัดหมายวันตรวจทางจิตวิทยาและพบแพทย์ ค่าบริการ 50บาท  ครั้งที่ 2 รับการตรวจทางจิตวิทยา และพบแพทย์เพื่อออกใบรับแพทย์การตรวจสภาพจิต ค่าบริการ ประมาณ 550บาท ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนตามการตรวจได้
         - กรณีบุคคลที่เป็นผู้ป่วยของรพ.สวนสราญรมย์เดิม ให้นำบัตรประชาชน หนังสือราชการที่แจ้งให้ท่านเกณฑ์ทหาร มาขอรับบริการตรวจรักษาตามปกติพร้อมแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการส่วนค่าใช้จ่ายประมาณ 570บาท ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนตามการตรวจได้
         - อายุใบรับรองแพทย์ นับจากวันที่ออกใบรับรองแพทย์สามารถอยู่ได้นาน 1 เดือน 
    8. ขอใบรับรองแพทย์ตรวจสภาพจิตเพื่อรับบุตรบุญธรรมต้องทำอย่างไร
        : ผู้รับบริการต้องมีหนังสือที่ทางราชการออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ส่งตรวจสภาพจิตมาติดต่อพร้อมบัตรประชาชน โดย
         - งานผู้ป่วยนอกเปิดบริการตรวจรักษาวันราชการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์  เวลาเริ่มทำบัตรผู้ป่วยใหม่ลำดับที่1 เริ่ม 07.30 น. และปิดรับบัตรคิวเวลา 14.00น. 
         - ทางรพ.จะมีการบริการท่านทั้งหมด 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกมารพ.เพื่อทำประวัติ นัดหมายวันตรวจทางจิตวิทยาและพบแพทย์ ค่าบริการ 50บาท  ครั้งที่ 2 รับการตรวจทางจิตวิทยา และพบแพทย์เพื่อออกใบรับแพทย์การตรวจสภาพจิต ค่าบริการ ประมาณ 550บาท ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนตามการตรวจได้
    9. รพ.เปิดตรวจไหมวันหยุด
        : รพ.สวนสราญรมย์เปิดบริการ
         - บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก วันราชการจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. และปิดรับบัตรคิวเวลา 14.00น.  
         - ปิดบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดราชการ
         - เปิดตรวจรักษาผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินตลอด 24ชม. โดยระบบส่งรักษาต่อจากรพ.ใกล้บ้าน
    10. ไม่เคยมาตรวจ ถ้าจะมาตรวจต้องทำอย่างไร
        : สิ่งที่ต้องเตรียม ข้อแนะนำในการสำรวจ
         - อาการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิตและจิตเวชที่ได้รับการรักษาจากรพ.อื่นๆแล้วไม่ดีขึ้นจึงมารพ.สวนสราญรมย์ ถ้าสามารถขอใบส่งตัวได้ให้นำมายื่นวีนที่มารับบริการ
         - อาการเจ็บป่วยทั่วไปขอแนะนำให้รับการตรวจรักษากับรพ.ฝ่ายกายก่อน
         - การมาตรวจที่รพ.สวนสราญรมย์ ให้นำบัตรประชาชน ถ้ามียา ผลการตรวจพิเศษต่างๆนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เตรียมเอกสารสิทธิค่ารักษาเช่น ใบส่งตัวจากรพ.ต้นสังกัด ถ้าต้องการใช้สิทธิค่ารักษา 
         - งานผู้ป่วยนอกเปิดบริการตรวจรักษาวันราชการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์  เวลาเริ่มทำบัตรผู้ป่วยใหม่ลำดับที่1 เริ่ม 07.30 น. และปิดรับบัตรคิวเวลา 14.00น.
     



    วันที่: 17 ก.พ. 2564 เวลา 09:51:31 โดย: Admin SSR

    วีดีโอเกี่ยวกับ ร.พ.

    ↑ TOP